บทที่ 3
การตกแต่งเอกสาร

1. การกำหนดขนาดกระดาษ
1. ไปที่แทบ เค้าโครงหน้ากระดาษ > ขนาด > คลิกสามเหลี่ยมเล็กๆ ด้านข้าง คลี่ลงมา
จะเปิดหน้าจอ ให้เลือกขนาดกระดาษ โดยส่วนใหญ่ จะเลือกขนาด A4 (21 ซม. X 29.7) หรือตามต้องการ
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448693256343/home/hnwy-thi-3/image1.png?height=400&width=208
2. หรือสามารถคลิกตั้งขนาดกระดาษเพิ่มเติมได้
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448693331463/home/hnwy-thi-3/image2.jpg?height=400&width=183
 3. โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง  ตั้งค่าหน้ากระดาษ  ให้ตั้งค่าเพิ่มเติมได้ตามต้องการ เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว คลิกตกลง จะได้ขนาดกระดาษตามที่ตั้งค่า
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448693465453/home/hnwy-thi-3/image3.png?height=400&width=317
4.  นอกจากนั้น ยังสามารถตั้งระยะขอบของกระดาษได้ตามที่เราต้องการ
โดยไปที่แทบ เค้าโครงหน้ากระดาษ 
 ระยะขอบ > คลิกสามเหลี่ยมเล็กๆ ด้านข้าง คลี่ลงมา
จะเปิดหน้าจอ ให้เลือกระยะขอบของกระดาษ ว่าระยะขอบกระดาษ
บน ล่าง ซ้าย ขวา จะเลือกแบบใด มีแบบปกติ แคบ ปานกลาง กว้าง หน้าคู่
หรือจะตั้งค่าระยะขอบเองก็ได้ โดยเลือกระยะขอบ แบบกำหนดเอง
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448693599511/home/hnwy-thi-3/image4.png?height=400&width=235
5. ถ้าคลิกระยะขอบแบบกำหนดเอง โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง ตั้งค่าหน้ากระดาษ
ในเมนูระยะขอบ สามารถตั้งค่า บน ล่าง ซ้าย ขวา ได้ตามต้องการ
ถ้าเย็บกระดาษทางด้านซ้าย ด้านซ้ายก็ควรตั้งค่าเพิ่มขึ้นด้วย
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448693672424/home/hnwy-thi-3/image5.png?height=400&width=319
6. เมื่อตั้งค่าได้แล้ว คลิกปุ่ม ตกลง
การแบ่งขึ้นหน้าใหม่
1. ตัวแบ่ง มี 2 ลักษณะ คือ ตัวแบ่งหน้า และตัวแบ่งส่วน
มีรายละเอียดซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ 

คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448694392941/home/hnwy-thi-3/%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%881.png?height=400&width=251
2.  สมมติว่า เราต้องการจัดหน้าโดยนำข้อ 4 ซึ่งอยู่ส่วนล่างของหน้า ไปไว้หน้าถัดไป

คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448694821738/home/hnwy-thi-3/%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%882.jpg?height=235&width=400
3.  ตั้งเคอเซอร์ที่ข้อ 4 ไปที่แทบ เค้าโครงหน้ากระดาษ > ตัวแบ่ง > คลี่สามเหลี่ยมเล็กๆ ด้านข้าง >หน้าถัดไป
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448694921714/home/hnwy-thi-3/%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%883.jpg?height=400&width=251
4. จะไปปรากฏ หน้าถัดไป โดยมีเครื่องหมาย ตัวแบ่งส่วน (หน้าถัดไป) ปรากฏให้เห็น
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448695075402/home/hnwy-thi-3/%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%884.png?height=252&width=400
5.  ข้อความ ข้อ 4 จะอยู่หน้าถัดไป ไม่วิ่งกลับมาอยู่หน้าเดิมอีก เพราะมีตัวแบ่งส่วน กั้นไว้
การแบ่งคอลัมน์
1. สมมติ เรามีข้อความอยู่ดังตัวอย่างด้านล่างนี้ และต้องการจัดเป็นสองคอลัมน์
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448695427689/home/hnwy-thi-3/image015.png
2.เลือกป้ายข้อความให้เกิดแถบสว่าง แล้วไปที่แทบ
เค้าโครงหน้ากระดาษ > คอลัมน์ > คลี่สามเหลี่ยมเล็ก ๆ
ข้างคอลัมน์ จะเกิดเมนูให้เลือกว่าจะเลือก หนึ่งคอลัมน์ สองคอลัมน์ สามคอลัมน์ คอลัมน์ทางซ้ายเล็ก คอลัมน์ทางขวาเล็ก
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448695515026/home/hnwy-thi-3/image016.png
3. จะได้ ดังภาพ
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448695614988/home/hnwy-thi-3/image017.jpg
4.ถ้าต้องการกำหนดขนาดความกว้างของคอลัมน์เอง ให้ไปที่คอลัมน์เพิ่มเติม
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448695602102/home/hnwy-thi-3/image018.jpg?height=400&width=305

5. โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง คอลัมน์ เราสามารถกำหนดจำนวนคอลัมน์
ความกว้างและระยะห่างของคอลัมน์ได้ แล้วคลิกตกลง จะได้ตามต้องการ

คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448695794623/home/hnwy-thi-3/image019.png
การเน้นข้อความ
1. สมมติว่า ข้อความต่อไปนี้ ต้องการเน้นในจุดที่ต้องการให้เด่น หรือจุดที่เป็นหัวข้อเรื่อง
2. จะเน้นที่ข้อความใด ให้ป้ายเลือกที่ข้อความนั้นก่อน แล้วไปที่แท็บ หน้าแรก > กลุ่มแบบ
อักษร > ตัวหนา
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448696171467/home/hnwy-thi-3/image021.jpg
3.  คำว่า กล้วย จะเป็นตัวหนา 
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448696245289/home/hnwy-thi-3/image022.jpg
4.  นอกจากนั้น ยังสามารถใช้สีเน้นข้อความได้
ทำให้ข้อความดูเหมือนถูกทำเครื่องหมายด้วยปากกาเน้นข้อความ
โดยไปที่แท็บ หน้าแรก > กลุ่มแบบอักษร > สีเน้นข้อความ
คลิกสามเหลี่ยมเล็กๆ ด้านข้าง สามารถเลือกสีที่ใช้เน้นได้ตามชอบใจ
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448696307134/home/hnwy-thi-3/image023.png
5. เมื่อเลือกสีที่จะใช้เน้นข้อความได้แล้ว ก็นำไปป้ายที่ข้อความที่เราต้องการเน้น 
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448696371546/home/hnwy-thi-3/image024.png
6. ถ้าต้องการเลิกเน้นข้อความ ให้คลิกที่ หยุดการเน้น เคอร์เซอร์ก็จะกลับมาเหมือนเดิม 
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448696429253/home/hnwy-thi-3/image025.jpg
7. ถ้าต้องการนำสีที่เน้นข้อความออก ให้ป้ายข้อความที่เน้นแล้วคลิกที่ ไม่มีสี สีที่เน้นก็จะหายไป
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448696488093/home/hnwy-thi-3/image026.png
การเปลี่ยนรูปและขนาดตัวอักษร
        ในการพิมพ์เอกสารและการจัดหน้า เป็นธรรมดาที่ขนาดของตัวอักษรแต่ละตำแหน่งอาจไม่เท่ากันทั้งหน้าอกสาร
อย่างเช่น บทที่ เรื่อง หัวข้อเรื่อง และเนื้อหา จะมีขนาดแตกต่างกันไป ดังตัวอย่าง

คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448705335597/home/hnwy-thi-3/image031.png
1.  การเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร สามารถกระทำได้ โดยไปที่แทบหน้าแรก  
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448705408650/home/hnwy-thi-3/image032.jpg
2.  คลิกแบบอักษรตามที่ต้องการ
3.  ถ้าต้องการเปลี่ยนขนาดตัวอักษร ให้ไปที่แทบหน้าแรก > กลุ่มแบบอักษร > คลิกสามเหลี่ยมเล็กๆ 
ข้างขนาดอักษรคลี่ลงมา เลือกขนาดได้ตามต้องการ
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448705532995/home/hnwy-thi-3/image033.jpg
การปรับระยะห่างของตัวอักษร
               การปรับระยะห่างระหว่างตัวอักษร มีความจำเป็น
ต้องใช้ในการจัดหน้าเอกสารบ้างในบางครั้ง ตัวอย่างเช่น
บางทีเราจำเป็นต้องบีบระยะห่างระหว่างตัวอักษรเพื่อให้ตัวอักษรบรรทัดสุดท้าย
ซึ่งมีอยู่ตัวเดียวหรือสองสามตัววิ่งขึ้นมาอยู่บรรทัดก่อนสุดท้าย เพื่อเป็นการตัดบรรทัดสุดท้ายออกไป
ตัวอย่างจากบทความข้างล่างนี้ ถ้าต้องการตัดบรรทัดสุดท้ายออกไปมีวิธีการดังนี้
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448705842346/home/hnwy-thi-3/image035.png
1.  ป้ายช่วงข้อความที่ต้องการบีบ ให้คำว่า กล้วยซึ่งอยู่บรรทัดสุดท้าย ขึ้นไป
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448705910319/home/hnwy-thi-3/image036.png
2.  ไปที่แทบหน้าแรก > กลุ่มแบบอักษร > แสดงกล่องโต้ตอบแบบอักษร
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448706006376/home/hnwy-thi-3/image037.jpg
3.  โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง แบบอักษร คลิกเลือกแถบ ขั้นสูง
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448706062939/home/hnwy-thi-3/image038.jpg
4.  โปรแกรมจะเปิดหน้าต่างให้ตั้งค่า ในช่องระยะห่าง ให้เลือก บีบ แล้วคลิกตกลง
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448706122966/home/hnwy-thi-3/image039.png
5.  คำว่า กล้วย จะขึ้นไปอยู่บรรทัดก่อนสุดท้าย บรรทัดสุดท้ายก็จะหายไป
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448706180092/home/hnwy-thi-3/image040.jpg
การทำตัวยกตัวห้อย
               ในการจัดพิมพ์เอกสาร บางครั้งมีความจำเป็นจะต้องใช้สูตร
สมการ ใช้ตัวยก ตัวห้อย ซึ่งตัวห้อย หมายถึง การสร้างตัวอักษรขนาดเล็กใต้แนวหลักของข้อความ และตัวยก หมายถึง การสร้างตัวอักษรขนาดเล็กเหนือบรรทัดข้อความ โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
1.   สมมติว่า เราต้องการพิมพ์สูตรทางวิทยาศาสตร์ของน้ำ ให้พิมพ์ค่าทุกตัว เช่น H2O และต้องการทำเลข 2 เป็นตัวห้อย ก็ป้ายที่เลข 2 ให้เกิดแถบสว่าง แล้วไปที่หน้าแรก > กลุ่มแบบอักษร > ตัวห้อย 
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448706566937/home/hnwy-thi-3/image042.png
2.  จะได้ดังภาพ
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448706626065/home/hnwy-thi-3/image043.jpg
3.  คลิกที่ว่างๆ ไปหนึ่งครั้งแถบสว่างก็จะหายไป จะได้  H2O
4.  การทำตัวยก ก็เช่นเดียวกัน สมมติ ต้องการทำ X กำลัง 2 .ให้พิมพ์ X2 และป้ายที่ เลข 2 ให้เกิดแถบสว่าง แล้วไปที่หน้า       แรก > กลุ่มแบบอักษร > ตัวยก 
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448706729667/home/hnwy-thi-3/image044.png
5. จะได้     X2  ตามต้องการ
การเปลี่ยนตำแหน่งกั้นหน้ากั้นหลัง
การจัดหน้าเอกสาร ในบางครั้งเพื่อความสวยงาม เราจึงมีการกำหนดตำแหน่งกั้นหน้า และ     กั้นหลังไว้ โดยมีวิธีการดังนี้
1. ตัวอย่างเช่น บรรทัดแรก มีการกำหนดเยื้องเข้ามาข้างใน
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448707279236/home/hnwy-thi-3/image046.png
2. เราสามารถตั้งการเยื้องบรรทัดแรกได้ โดยคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วเลื่อนสามเหลี่ยมไปมาได้ตามขนาดที่ต้องการ
3. บรรทัดที่ 2 ถูกกำหนดด้วย กั้นหน้าลอย
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448707193993/home/hnwy-thi-3/image047.png
4. เช่นเดียวกัน เราสามารถตั้งกั้นหน้าลอยของบรรทัดที่สองได้ โดยคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วเลื่อนสามเหลี่ยมไปมาได้ตามขนาดที่ต้องการ
5. แต่ถ้าเราคลิกที่เยื้องซ้ายเปลี่ยนตำแหน่ง เยื้องบรรทัดแรกซึ่งจะเปลี่ยนตามไปด้วย 
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448707443700/home/hnwy-thi-3/image048.png

6. นอกจากนี้ มีระยะขอบซ้าย และระยะขอบขวา ซึ่งสามารถกำหนดตำแหน่งกั้นหน้า กั้นหลังของเอกสารได้ โดยยืดหดตามต้องการ ดังภาพ
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448707512913/home/hnwy-thi-3/image050.jpg
 7. แต่ขอแนะนำให้ไปตั้งที่แทบเค้าโครงหน้ากระดาษ > กลุ่มตั้งค่าหน้ากระดาษ > ระยะขอบ ซึ่งเป็นการเลือกระยะขอบทั้งเอกสาร หรือส่วนที่เลือกปัจจุบัน
การจัดตำแหน่งข้อความ
             การจัดตำแหน่งของข้อความในหน้าเอกสาร
เป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากเพราะในหน้าเอกสารหน้าหนึ่งๆ
ตำแหน่งของข้อความแต่ละบรรทัดอาจไม่ได้อยู่ตำแหน่งเดียวกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสวยงาม และเครื่องมือในการจัดตำแหน่งของข้อความ จะอยู่ที่แทบหน้าแรก > กลุ่มย่อหน้า ดังภาพ
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448707700858/home/hnwy-thi-3/image052.png
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448707742159/home/hnwy-thi-3/image053.jpg
ตัวอย่างเช่น
คำอธิบาย: https://sites.google.com/site/wordnutchari/_/rsrc/1448707812283/home/hnwy-thi-3/image054.png


 


free hit counter

ผู้เข้าเยี่ยมชม